วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

On 04:56 by EForL   No comments
ปัจจุบันเราจะได้ยินสำนวน หรือวลีทางการเมืองของท่านผู้นำบ่อย ๆ ว่า  “จะปฏิรูป”  ซึ่งฟังแล้วรู้สึกว่าท่านมีภูมิรู้จริง ๆ (แค่รู้สึกนะ) วันนี้เลยจะมายกกรณีศึกษาเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ไร้ผล ของอาณาจักรจีนช่วงปี ค.ศ. ๑๐๐๐



ปี ค.ศ. ๑๐๔๓ หวังอันสือที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งทางราชการไม่นาน ได้นำเสนอแนวทางการปฏิรูปแบบใหม่ โดยเสนอให้เร่งสร้างบุคลากรที่มีความสามารถ ปรับปรุงระเบียบข้อกำหนดกฎหมาย และจัดการบริหารการคลังเสียใหม่ เป็นต้น แนวคิดของหวังอันสือแม้ว่าจะเป็นที่ชื่นชมอย่างมากในหมู่ปัญญาชน แต่องค์จักรพรรดิหรือผูู้ปกครองอาณาจักรไม่อนุญาติเดินการแต่อย่างใด
จวบจนถึงปี ค.ศ. ๑๐๖๓ จักรพรรดิในยุคนั้นล้มป่วยสิ้นพระชนม์ลง ซ่งอิงจงขึ้นครองราชย์ต่อมาพระนามว่า จักรพรรดิซ่งเสินจง (ค.ศ. ๑๐๖๗ - ๑๐๗๕) จึงได้เริ่มนำโครงการปฏิรูปของหวังอันสือมาปรับใช้ โดยโครงการปฏิรูปของหวังอันสือที่สำคัญ ได้แก่
               ๑) ปฏิรูประบบเศรษฐกิจพื้นฐาน โดยวางมาตรการควบคุมสินค้า ให้รัฐบาลซื้อผลผลิตในพื้นที่ที่มีผลิตผล แล้วนำมากไปจำหน่ายในพื้นที่ที่ขาดแคลนเพื่อไม่ให้พ่อค้าผูกขาดสินค้า
              ๒) ออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือชาวนาไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการรีดดอกเบี้ยจากนายทุนเงินกู้หน้าเลือด



            ๓) วางมาตรการประเมินที่ดินใหม่ในการจัดเก็บภาษี โดยการจัดอันดับคุณภาพที่ดินเป็นขั้น ๆ และประเมินการเก็บภาษีจากผลผลิตที่สามารถผลิตได้ในแต่ปี
          ๔) แก้ปัญหารายจ่ายมหาศาลในกองทัพโดยนำระบบ “เป่าเจี๋ย” มาใช้คือ ให้ครอบครัว ๑๐ ครอบครัวจัดตั้งกองกำลังอาสาสมัครได้ ๑ หน่วย เมื่อว่างจากการเกษตรก็ให้ซ้อมรบ นอกจากนี้      หวังอันสือยังมองการไกลถึงเรื่องทหารม้าที่ยังอ่อนแอ จึงให้ชาวนาเลี้ยงม้าที่รัฐจัดให้ครอบครัวละหนึ่งตัว และฝึกให้มีการรบบนหลังม้าด้วย
         ๕) พัฒนาด้านการศึกษา โดยเพิ่มโรงเรียนของรัฐบาลให้มากขึ้นเพื่อแข่งขันกับโรงเรียนเอกชน



มาตรการปฏิรูปที่หวังอันสือ ดำเนินการนั้นมุ่งหวังให้เศรษฐกิจได้พัฒนาประชาชนได้รับประโยชน์ แต่กลับทำลายผลประโยชน์ของขุนนางส่วนใหญ่ในระบบราชการ, เจ้าหน้าที่, พ่อค้า และนายทุนเงินกู้  ทำให้กลุ่มผู้อิทธิพลเหล่านี้ต่างพากันคัดค้านโครงการนี้
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจักรพรรดิซ่งเสินจงสิ้น (ค.ศ. ๑๐๘๕) โอรสวัยสิบขวบขึ้นครองราชย์ต่อพระนามว่าซ่งเจ๋อจง (ค.ศ. ๑๐๘๕ - ๑๑๐๐) มีเกาไทเฮาเป็นที่ปรึกษาราชกิจ ซึ่งให้การสนับสนุนกลุ่มแนวคิดอนุรักษ์แบบเก่านำโดยซือหม่ากวง ไม่นานนักกลุ่มปฏิรูปของหวังอันสือก็ถูกขับไล่ออกจากศูนย์กลางอำนาจ พร้อมกับยกเลิกนโยบายในการปฏิรูปทั้งหมด
เมื่อบุคคลกลุ่มนี้ได้เข้ามามีอำนาจในระบบราชการ ก็เริ่มออกกฎระเบียบใหม่เพื่อให้เอื้อประโยชน์แก่การโกงกินและการขยายอำนาจในหมู่พรรคพวกเดียวกัน อันนำมาซึ่งความล้มเหลวของระบบราชการ เป็นเหตุให้ราษฎรทยอยลุกฮือขึ้นก่อการต่อต้านราชสำนัก 

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558



นักปฏิวัติและกวีสาวที่อุทิศชีวิตเพื่ออุดมการณ์
 มีหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งน่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะเธอเป็นหญิงจีนคนแรกที่กล้าออกมาเรียกร้องสิทธิและความเสมอภาคของสตรีในแผ่นดินจีน หญิงสาวคนนั้นมีนามว่าชิวจิ่น (ค.ศ. 1877-1907)
ชิวจิ่น เกิดในตำบลเซ่าซิง มณฑลเจ๋อเจียง เธอเติบโตขึ้นมาโดยได้รับการศึกษาและอบรมบ่มสอนเยี่ยงกุลสตรีในระบอบเก่า(คือผู้หญิงต้องอยู่กับเรือนไม่มีอำนาจใดๆทั้งสิ้น) ด้วยความที่เธอเป็นคนใฝ่เรียนเป็นพิเศษแม้จะถูกปิดกั้น แต่เธอก็ยังมีโอกาสได้ศึกษาบทกวีรวมทั้งบทความเสียดสีสังคม ที่เหล่าปัญญาชนในยุคนั้นเขียนเสียดสีชนชั้นปกครอง 




ชิวจิ่นในวัยสาวได้แต่งงานตามประเพณีที่พ่อแม่จัดการให้กับบุตรชายพ่อค้าแซ่หวาง  ทั้งสองได้ย้ายไปอยู่ที่ปักกิ่งแล้วมีลูกกับสามี 2 คน
ในแผ่นดินจีนช่วง ค.ศ.1897 โดยเฉพาะที่ปักกิ่ง กองทัพของชาวต่างชาติ บุกเข้าสังหารและ   ปล้มสะดมทำให้ชาวเมืองล้มตายและอยู่ในอาการหวาดผวา หญิงสาวหรือแม้กระทั้งเด็กสาวถูกทหารต่างชาติข่มขืน ในขณะที่เธอและสามีอยู่อย่างสะดวกสบาย เมื่อเธอได้เห็นเหตุการณ์ที่กล่าวมานี้ ทำให้เธอได้คิดว่า "การมีชีวิตที่ฟู่ฟ้า หรูหราแต่ไร้ค่า มันไม่มีความหมายอะไรเลย ในเมื่อชาติกำลังจะพังพินาศอยู่แล้ว" ในที่สุดชิวจิ่วก็ตัดสินใจเด็ดขาด โดยขอหย่ากับสามี เธอขายเครื่องประดับทุกอย่าง แล้วนำเงินที่ได้จากการขายสมบัติมอบให้แก่บุตรทั้งสอง  เธอเก็บเงินไว้ใช้เพียงน้อยนิดสำหรับการเดินทางไปศึกษาต่อที่โตเกียวประเทศญี่ปุ่น ในสมัยนั้นการตัดสินใจเช่นนี้ นับว่าต้องมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวอยู่มากทีเดียว 
เมื่อซุนยัตเซ็น จัดตั้งกลุ่มถงเหมินฮุ่ยในโตเกียวปลายเดือนกรกฎาคม 1902 ชิวจิ่ว ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกรุ่นแรก ๆ เธอได้รับมอบหมายให้จัดตั้งสาขาย่อยของกลุ่มขึ้นในมณพลเจ๋อเจียง ต่อมา ชิวจิ่วได้ออกนิตยสารสตรีรายเดือน มีชื่อว่า “วารสารสตรีรายเดือน” มีนโยบายให้ความรู้เรื่องความเสมอภาคของสตรีในแผ่นดินจีน
วารสารสตรีรายเดือนฉบับแรก ออกจำหน่ายวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1907 จากบทนำของวารสารนี้มีชื่อว่า “สารถึงสตรีทั้งหลาย” โดยมีแนวคิดที่มีต่อเพื่อนสตรีทั้งหลายว่า

“พี่น้องที่รักทั้งหลาย วันนี้ บุรุษ 200 ล้านคนในประเทศของเรากำลังเข้าสู่โลกใหม่อันเป็นอารยะ แต่เหล่าสตรียังคงต้องถูกเก็บตัวไว้ในห้องขังเยี่ยงนักโทษ เราต้องถูกมัดเท้า, แปรงผม, ตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้และเครื่องประดับ, แต่งหน้าทาปาก ,สวมใส่ผ้าไหมผ้าแพรหลอกล้อ,ยั่วยวน ,อดทนต่อความทุกข์ทรมาน,ร้องไห้คนเดียวเงียบๆ ความจริงของเราในตอนนี้ไม่ต่างอะไรจากนักโทษที่ต้องถูกคุมขังอยู่ชั่วชีวิต แล้วยังต้องทำงานหนักเหมือนวัวควายที่ถูกจูงจมูกถึงครึ่งชีวิตของเราทีเดียว 
พี่น้องที่รัก เธอเคยคิดบ้างหรือไม่ว่า ตลอดชีวิตทั้งชีวิตของเธอ เคยมีความสุขอย่างมนุษย์เป็นอิสระกับเขาบ้างหรือไม่หนอ”

วารสารสตรีจีนซึ่งชิวจิ่วเป็นบรรณาธิการเอง ตรวจสอบปรู๊ฟเองและจัดจำหน่ายเองออกได้เพียง 2 ฉบับก็ต้องม้วนเสื่อเก็บ เพราะถูกทางการสั่งกวาดล้าง


              

         ครั้นเมื่อ กองกำลังของซุนยัตเซ็นเริ่มยึดอำนาจที่หูหนาน แต่ปรากฏว่าล้มเหลว ชิวจิ่วกับเพื่อน ๆ นักปฏิวัติก็ยังไม่ยอมถอยยังคงเตรียมการของตนเพื่อเตรียมยึดอำนาจต่อไป แม้รู้ว่าซูซิหลินซึ่งเป็นเพื่อนรักของเธอเสียชีวิตแล้วก็ตาม 
         เธอเตรียมการไว้อาลัยอย่างลับ ๆ และเตรียมกำลังเพื่อยึดอำนาจต่อทันทีเมื่อเสร็จพิธี ชิวจิ่วก็ได้เขียนนจดหมายถึงเพื่อนในเซี่ยงไฮ้มีข้อความตอนหนึ่งว่า
“ฉันมีแต่ความทุกข์ทรมาน เมื่อได้เห็นเพื่อนร่วมชาติต้องอยู่ในกลียุคและประเทศชาติต้องตกอยู่ในอันตราย ครั้นมาถึงบัดนี้ ตัวฉันเองก็ใกล้จะถึงที่จุดจบของชีวิตแล้ว มีประโยชน์อะไรที่จะร้องไห้ ใครจะเป็นคนฝังฉันในดินแดนอันเป็นซากปรักหักพังแห่งนี้ ไม่จำเป็นอะไรที่จะสร้างหลุมฝังศพให้ฉัน เพราะจีนก็เป็นแต่ซากปรักหักพังแล้ว มันเป็นหน้าที่ของฉันที่จะต้องสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ ฉันจะมีชีวิตอยู่ต่อไป แม้ว่าลมหายใจหมดลงไปแล้ว ลาก่อน”

แผนการยึดอำนาจของชิวจิ่นล่วงรู้ไปถึงทางการทำให้เธอถูกจัดได้ แล้วนำตัวไปประหารชีวิตอีก 3 วันต่อมาที่ถนนสายหนึ่งในเมืองเซ่าชิง ความตายของเธอเป็นแบบอย่างให้แก่สตรีจีนทั้งหลายในฐานะ     วีรสตรีผู้กล้าหาญไม่กลัวตาย ที่หาได้ยากยิ่ง สิงที่เธอทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังอ่าน ถ่ายทอดให้เห็นถึงความรักในประเทศชาติ และความใฝ่ฝันที่จะได้อุทิศตนในการต่อสู้เพื่อประเทศชาติ ที่กำลังสิ้นหวังในทุกประการ ความจริง ชิวจิ่วเป็นสตรีจีนคนแรกที่เรียกร้องความเสมอภาคระหว่วงบุรุษกับสตรีในสังคมจีน และสตรีมากหลายก็ได้ถือเธอเป็นแบบอย่างอันเป็นอมตะในการต่อสู้เพื่อสิทธิของสตรีและระบอบประชาธิปไตยของชาติ



วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

On 02:12 by EForL   No comments
อาณาจักรจีนนับตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และเกรียงไกรที่สุด คนจีนในยุคก่อนเลยมีความเชื่อว่าอาณาจักรของตนเป็นเจ้าโลก จึงมักเรียกคนเผ่าอื่นว่า คนเถื่อน
ในรัชสมัยจักรพรรดิเต๋อจง (ค.ศ. ๑๘๗๕- ๑๙๐๘) แห่งราชวงศ์ชิง อาณาจักรจีนต้องแพ้สงครามมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้องพ่ายแพ้ให้แก่ชาวญี่ปุ่น ประชาชนชาวจีนถือว่าเป็นความอัปยศอย่างที่สุด จึงเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองอย่างรีบด่วน

บุคคลที่มีอิทธิผลทางความคิด ในการเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนในยุคนี้มี ๓ ท่าน ได้แก่ ถานซื่อถง เอี๋ยนฟุและคังอิ๋วหวุย
คังอิ๋วหวุย เกิดในมณฑลกว่างตง ตระกูลเป็นขุนนางที่มีอิทธิพลและเป็นผู้รักษาคำสอนของขงจื๊อสืบต่อกันมายาวนานมาก ในวัยเด็กคังได้รับการศึกษาจากปรมาจารย์ของลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า และพระพุทธศาสนา จนสำเร็จตามหลักสูตรทุกประการ จากนั้นเขาเริ่มศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การเมืองร่วมสมัยตลอดจนถึงบทวิจารณ์ตั้งแต่สมัยซ่ง
ค.ศ. ๑๘๗๙ คังได้เดินทางมาสอบไล่ที่ปักกิ่ง การได้มาที่ปักกิ่งในครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะเขามีโอกาสได้ศึกษาตำราตะวันตกและสอบถามข้อสงสัยต่าง ๆ กับบาทหลวง จนมีความคิดที่จะปฏิรูประบบการศึกษาและการเมืองการปกครองในอาณาจีน
เนื่องจากคังเป็นคนจริงเมื่อได้คิดแล้วต้องลงมือทำด้วย เขาได้เริ่มเขียนบันทึกทูลเกล้าฯ ถึงจักรพรรดิเต๋อจง มีเนื้อหาเกี่ยวกับสาเหตุความพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่น และเขียนเกี่ยวกับการปฏิรูปทางกฎหมายเพื่อให้เป็นแม่บทในการบริหารอาณาจักร
แม้ว่าบันทึกทูลเกล้าฯ ครั้งแรกนี้จะไม่ถึงองค์จักรพรรดิ แต่นักการเมืองที่มีอิทธิพลหลายคนได้อ่านและให้ความสนใจเป็นอย่างมาก จนในที่สุดหลี่หงจาง เวิงถงเหอและหยงลุต้องเรียกตัวให้มาพบ
การสนทนากันระหว่างคังอิ๋วหวุยกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่ใช้เวลาถึง ๓ ชั่วโมง มีประโยคสนทนาที่ทำให้ขุนนางได้คิด เช่น
หยงลุ: สถาบันการปกครองต่าง ๆ ของบรรพบุรุษนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้
คังอิ๋วหวุย: ถ้าเราไม่สามารถรักษาอาณาจักรของบรรพบุรุษไว้ได้ สถาบันต่าง ๆ ของท่านจะมีประโยชน์อะไร
หลี่หงจาง: ถึงแม้องค์จักรพรรดิมีรับสั่งให้เปลี่ยนแปลง ก็ใช้ว่าจะทำได้ง่าย ๆ
คังอิ๋วหวุย: เป็นธรรมดาของการเปลี่ยนแปลง คนที่ได้ประโยชน์ย่อมสนับสนุนคนที่เสียประโยชน์ย่อมคัดค้าน
วันต่อมาจักรพรรดิเต๋อจงมีรับสั่งให้คังอิ๋วหวุยเข้าเฝ้า คังได้ถวายหนังสือ ๒ เล่ม เล่มแรกว่าด้วยเรื่องการปฏิรูปของญี่ปุ่น เล่มที่สองว่าด้วยเรื่องการปฏิรูปของรัสเซีย จากนั้นคังได้รายงานว่า





คัง: ถ้าไม่ปฏิรูปโดยทั่วถึง การสร้างตนเองให้เข้มแข็งของจีนก็ไม่มีทางเป็นไปได้
จักรพรรดิ: ฉันก็มีความคิดเช่นนั้น
คัง: ในเมื่อพระองค์ดำริที่จะปฏิรูปมาตั้งนานแล้ว ทำไมถึงไม่กระทำการใด ๆ เลยทั้ง ๆ ที่ประเทศกำลังมุ่งหน้าไปสู่ความหายนะ
เมื่อพระองค์แน่พระทัยว่าไม่มีใครแอบฟังจึงตรัสไปว่า
จักรพรรดิ: ฉันถูกมัดมือมัดเท้าไม่อาจทำอะไรได้อย่างใจ ฉันยินดีที่จะสนับสนุนแต่ต้องรอเวลาอันดีก่อน
ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๙๘ การปฏิรูปเริ่มขึ้นโดยจักรพรรดิเต๋อจง ประกาศราชกฤษฎีกาฉบับแรก มีคังอิ๋วหวุย หลี่ฉี่เชา เป็นที่ปรึกษาอยู่หลังฉาก
พระราชกฤษฎีกา ได้แก่
- ให้มีการจัดตั้งโรงเรียนสมัยใหม่ขึ้นทั่วราชอาณาจักร
- ยกเลิกการสอบไล่แบบเดิม (การเขียนความเรียงแปดขา)
- เริ่มใช้การสอบไล่แบบถามตอบ
- จัดตั้งกระทรวงเกษตรกรรม ฯลฯ
 เมื่อโครงการปฏิรูปประกาศออกมา จักรพรรดิเต๋อจงเริ่มรู้สึกว่าพระองค์กำลังประกาศสงครามกับพระนางซูสีและสถาบันการปกครองอยู่ ฝ่ายพระนางซูสีออกมาคัดค้านพร้อมกับสั่งการให้ทหารจับกุมคณะนักปฏิรูปและองค์จักรพรรดิ
องค์จักรพรรดิถูกจับไปขังที่ทะเลสาบจงหนานไห่ คังอิ๋วหยุนกับหลี่ฉี่เชาหนีรอด นักปฏิรูปส่วนใหญ่ถูกประหารชีวิต ก่อนที่ถานซื่อถงจะถูกประหารชีวิต ได้กล่าวคำสุดท้ายเอาไว้ว่า “ไม่เคยมีการปฏิรูปที่ไหนจะสำเร็จลงได้โดยไม่มีการหลั่งเลือด”
การปฏิรูปในครั้งนี้สิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ในประวัติศาสตร์จีนเรียกช่วงนี้ว่า “ยุคปฏิรูปร้อยวัน” ภายหลังการตายของถานซื่อถงและนักปฏิรูปคนอื่น ๆ พระราชกฤษฎีกาของจักรพรรดิเต๋อจง        ถูกเพิกถอนหมด
อย่างไรก็ตาม แนวคิดในการปฏิรูปภายในประเทศยังคงมีอยู่ กลุ่มปัญญาชนที่ได้รู้เห็นเหตุการณ์และได้รับรู้ถึงแนวคิดการปฏิรูปจากหนังสือต่างมีความคิดว่า “ในเมื่อการปฏิรูปโดยสันติวิธีล้มเหลว ก็ต้องหันเข้าหาการปฏิวัติ”
อาณาจักรจีนนับตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และเกรียงไกรที่สุด คนจีนในยุคก่อนเลยมีความเชื่อว่าอาณาจักรของตนเป็นเจ้าโลก จึงมักเรียกคนเผ่าอื่นว่า คนเถื่อน

ในรัชสมัยจักรพรรดิเต๋อจง (ค.ศ. ๑๘๗๕- ๑๙๐๘) แห่งราชวงศ์ชิง อาณาจักรจีนต้องแพ้สงครามมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้องพ่ายแพ้ให้แก่ชาวญี่ปุ่น ประชาชนชาวจีนถือว่าเป็นความอัปยศอย่างที่สุด จึงเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองอย่างรีบด่วน
บุคคลที่มีอิทธิผลทางความคิด ในการเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนในยุคนี้มี ๓ ท่าน ได้แก่ ถานซื่อถง เอี๋ยนฟุและคังอิ๋วหวุย




























เอี๋ยนฟุ  เกิดในมณฑลฟุเจี้ยน เมื่ออายุ ๑๔ ปี ได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายเรือที่ฟุโจว พอสำเร็จการศึกษา เนื่องจากมีผลการเรียนดีเขาจึงได้รับเลือกให้ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรือของอังกฤษ
ในช่วงที่ศึกษาอยู่ที่อังกฤษ เอี๋ยนฟุมีความสนใจใคร่รู้ถึงแหล่งที่มาแห่งความยิ่งใหญ่ของชาติตะวันตก จึงพยายามศึกษาจากตำราของนักเขียนที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจนเขาได้ข้อสรุปว่า “อาณาจักรจะยิ่งใหญ่ได้ไม่ใช่เกิดจากกำลังทหารเท่านั้น รูปแบบการปกครองภายในประเทศต้องดีด้วย”
ปี ค.ศ. ๑๘๗๙ เอี๋ยนฟุสำเร็จการศึกษาแล้วกลับมาจีน เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนนายเรือเทียนจิน ในช่วงที่เกิดสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เขาได้เห็นลูกศิษย์และเพื่อน ๆ เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า “ประเทศเรากำลังถอยหลังเข้าคลอง ต้องรีบพัฒนาเยาวชนให้ทัดเทียนกับต่างชาติ” เขาจึงเริ่มเขียนหนังสือแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้มั่นคง
เอี๋ยนฟุอุทิศเวลา ๑๕ ปี ในการแปลและถ่ายทอดวรรณกรรมสำคัญ ๆ ของตะวันตกออกมาเป็นภาษาจีน จนได้หนังสือทั้งสิ้น ๑๑๒ เล่ม ทำให้ชาวจีนได้ศึกษาแนวคิดของชาติตะวันตก
On 00:25 by EForL   No comments
อาณาจักรจีนนับตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และเกรียงไกรที่สุด คนจีนในยุคก่อนเลยมีความเชื่อว่าอาณาจักรของตนเป็นเจ้าโลก จึงมักเรียกคนเผ่าอื่นว่า คนเถื่อน
ในรัชสมัยจักรพรรดิเต๋อจง (ค.ศ. ๑๘๗๕- ๑๙๐๘) แห่งราชวงศ์ชิง อาณาจักรจีนต้องแพ้สงครามมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้องพ่ายแพ้ให้แก่ชาวญี่ปุ่น ประชาชนชาวจีนถือว่าเป็นความอัปยศอย่างที่สุด จึงเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองอย่างรีบด่วน
บุคคลที่มีอิทธิผลทางความคิด ในการเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนในยุคนี้มี ๓ ท่าน ได้แก่ ถานซื่อถง เอี๋ยนฟุและคังอิ๋วหวุย

















 ถานซื่อถง เกิดในตระกูลใหญ่มณฑลหูหนาน บิดารับราชการเป็นผู้ตรวจการ ในวัยเด็กเวลาบิดาเดินทางไปตรวจการที่ใด ถานซื่อถงจะเดินทางไปด้วยทุกครั้งทำให้ได้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่และความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ของแต่ละสถานที่เป็นอย่างดี
เมื่อเจริญวัยขึ้นถานได้รับการศึกษาจากอาจารย์ที่เป็นนักบวชขงจื๊อ นักบวชในพระพุทธศาสนา และนักบวชคริสต์ที่สอนหลักวิทยาศาสตร์ เมื่อสำเร็จการศึกษาเขาได้รับเชิญให้ไปเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยอู้เสวียตั่ง ระหว่างที่เป็นอาจารย์สอนหนังสือถานได้ร่วมมือกับเฉินเปาเจินผู้ว่าราชการมณฑลหูหนาน ชี้นำความคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการปฏิรูปชาติ ให้แก่ประชาชนจนเกิดการรวมกลุ่มเพื่อปฏิรูประดับชาติในลำดับต่อไป