วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558
On 02:12 by EForL No comments
อาณาจักรจีนนับตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และเกรียงไกรที่สุด
คนจีนในยุคก่อนเลยมีความเชื่อว่าอาณาจักรของตนเป็นเจ้าโลก
จึงมักเรียกคนเผ่าอื่นว่า คนเถื่อน
ในรัชสมัยจักรพรรดิเต๋อจง (ค.ศ. ๑๘๗๕- ๑๙๐๘)
แห่งราชวงศ์ชิง อาณาจักรจีนต้องแพ้สงครามมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้องพ่ายแพ้ให้แก่ชาวญี่ปุ่น
ประชาชนชาวจีนถือว่าเป็นความอัปยศอย่างที่สุด
จึงเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองอย่างรีบด่วน
บุคคลที่มีอิทธิผลทางความคิด
ในการเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนในยุคนี้มี ๓ ท่าน ได้แก่ ถานซื่อถง เอี๋ยนฟุและคังอิ๋วหวุย
คังอิ๋วหวุย เกิดในมณฑลกว่างตง
ตระกูลเป็นขุนนางที่มีอิทธิพลและเป็นผู้รักษาคำสอนของขงจื๊อสืบต่อกันมายาวนานมาก
ในวัยเด็กคังได้รับการศึกษาจากปรมาจารย์ของลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า และพระพุทธศาสนา
จนสำเร็จตามหลักสูตรทุกประการ
จากนั้นเขาเริ่มศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์
การเมืองร่วมสมัยตลอดจนถึงบทวิจารณ์ตั้งแต่สมัยซ่ง
ค.ศ. ๑๘๗๙ คังได้เดินทางมาสอบไล่ที่ปักกิ่ง
การได้มาที่ปักกิ่งในครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ
เพราะเขามีโอกาสได้ศึกษาตำราตะวันตกและสอบถามข้อสงสัยต่าง ๆ กับบาทหลวง
จนมีความคิดที่จะปฏิรูประบบการศึกษาและการเมืองการปกครองในอาณาจีน
เนื่องจากคังเป็นคนจริงเมื่อได้คิดแล้วต้องลงมือทำด้วย
เขาได้เริ่มเขียนบันทึกทูลเกล้าฯ ถึงจักรพรรดิเต๋อจง
มีเนื้อหาเกี่ยวกับสาเหตุความพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่น และเขียนเกี่ยวกับการปฏิรูปทางกฎหมายเพื่อให้เป็นแม่บทในการบริหารอาณาจักร
แม้ว่าบันทึกทูลเกล้าฯ
ครั้งแรกนี้จะไม่ถึงองค์จักรพรรดิ
แต่นักการเมืองที่มีอิทธิพลหลายคนได้อ่านและให้ความสนใจเป็นอย่างมาก จนในที่สุดหลี่หงจาง เวิงถงเหอและหยงลุต้องเรียกตัวให้มาพบ
การสนทนากันระหว่างคังอิ๋วหวุยกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่ใช้เวลาถึง
๓ ชั่วโมง มีประโยคสนทนาที่ทำให้ขุนนางได้คิด เช่น
หยงลุ: สถาบันการปกครองต่าง
ๆ ของบรรพบุรุษนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้
คังอิ๋วหวุย: ถ้าเราไม่สามารถรักษาอาณาจักรของบรรพบุรุษไว้ได้
สถาบันต่าง ๆ ของท่านจะมีประโยชน์อะไร
หลี่หงจาง:
ถึงแม้องค์จักรพรรดิมีรับสั่งให้เปลี่ยนแปลง ก็ใช้ว่าจะทำได้ง่าย ๆ
คังอิ๋วหวุย:
เป็นธรรมดาของการเปลี่ยนแปลง
คนที่ได้ประโยชน์ย่อมสนับสนุนคนที่เสียประโยชน์ย่อมคัดค้าน
วันต่อมาจักรพรรดิเต๋อจงมีรับสั่งให้คังอิ๋วหวุยเข้าเฝ้า
คังได้ถวายหนังสือ ๒ เล่ม เล่มแรกว่าด้วยเรื่องการปฏิรูปของญี่ปุ่น
เล่มที่สองว่าด้วยเรื่องการปฏิรูปของรัสเซีย จากนั้นคังได้รายงานว่า
คัง: ถ้าไม่ปฏิรูปโดยทั่วถึง
การสร้างตนเองให้เข้มแข็งของจีนก็ไม่มีทางเป็นไปได้
จักรพรรดิ: ฉันก็มีความคิดเช่นนั้น
คัง: ในเมื่อพระองค์ดำริที่จะปฏิรูปมาตั้งนานแล้ว
ทำไมถึงไม่กระทำการใด ๆ เลยทั้ง ๆ ที่ประเทศกำลังมุ่งหน้าไปสู่ความหายนะ
เมื่อพระองค์แน่พระทัยว่าไม่มีใครแอบฟังจึงตรัสไปว่า
จักรพรรดิ: ฉันถูกมัดมือมัดเท้าไม่อาจทำอะไรได้อย่างใจ
ฉันยินดีที่จะสนับสนุนแต่ต้องรอเวลาอันดีก่อน
ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๙๘ การปฏิรูปเริ่มขึ้นโดยจักรพรรดิเต๋อจง
ประกาศราชกฤษฎีกาฉบับแรก มีคังอิ๋วหวุย หลี่ฉี่เชา เป็นที่ปรึกษาอยู่หลังฉาก
พระราชกฤษฎีกา ได้แก่
-
ให้มีการจัดตั้งโรงเรียนสมัยใหม่ขึ้นทั่วราชอาณาจักร
- ยกเลิกการสอบไล่แบบเดิม
(การเขียนความเรียงแปดขา)
- เริ่มใช้การสอบไล่แบบถามตอบ
- จัดตั้งกระทรวงเกษตรกรรม ฯลฯ
เมื่อโครงการปฏิรูปประกาศออกมา
จักรพรรดิเต๋อจงเริ่มรู้สึกว่าพระองค์กำลังประกาศสงครามกับพระนางซูสีและสถาบันการปกครองอยู่ ฝ่ายพระนางซูสีออกมาคัดค้านพร้อมกับสั่งการให้ทหารจับกุมคณะนักปฏิรูปและองค์จักรพรรดิ
องค์จักรพรรดิถูกจับไปขังที่ทะเลสาบจงหนานไห่
คังอิ๋วหยุนกับหลี่ฉี่เชาหนีรอด นักปฏิรูปส่วนใหญ่ถูกประหารชีวิต
ก่อนที่ถานซื่อถงจะถูกประหารชีวิต ได้กล่าวคำสุดท้ายเอาไว้ว่า “ไม่เคยมีการปฏิรูปที่ไหนจะสำเร็จลงได้โดยไม่มีการหลั่งเลือด”
การปฏิรูปในครั้งนี้สิ้นสุดลงในเดือนกันยายน
ในประวัติศาสตร์จีนเรียกช่วงนี้ว่า “ยุคปฏิรูปร้อยวัน” ภายหลังการตายของถานซื่อถงและนักปฏิรูปคนอื่น
ๆ พระราชกฤษฎีกาของจักรพรรดิเต๋อจง ถูกเพิกถอนหมด
อย่างไรก็ตาม แนวคิดในการปฏิรูปภายในประเทศยังคงมีอยู่
กลุ่มปัญญาชนที่ได้รู้เห็นเหตุการณ์และได้รับรู้ถึงแนวคิดการปฏิรูปจากหนังสือต่างมีความคิดว่า
“ในเมื่อการปฏิรูปโดยสันติวิธีล้มเหลว ก็ต้องหันเข้าหาการปฏิวัติ”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
เสียงเพรียกแห่งธรรม
บทความยอดนิยม
-
นักปฏิวัติและกวีสาวที่อุทิศชีวิตเพื่ออุดมการณ์ มีหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งน่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะเธอเป็นหญิงจีนคนแรกที่กล้าออกมาเรียกร้องส...
-
ในปี 2554 ที่ผ่านมา เราได้เห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากการใช้ Social Media ในการกระจายข่าว จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองมาแล้วในหลาย...
-
"คนกลุ่มไหนแต่งตั้ง ก็ต้องไปรับใช้คนกลุ่มนั้น" โดย นิติภูมิ นวรัตน์ ท่านผู้ใหญ่ถามผมว่า ถ้าการเมืองถอยหลัง ยอมให้ ส.ว.เลือกนาย...
-
วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เริ่มก่อการปฏิวัติ โดยเจตนาแรกที่บอกแก่ประชาชนว่าที่ต้องทำเช่นนี้เพราะ ต้องการให้บ้า...
-
ช่วงปลายรัชสมัยของจักรพรรดิเฉิ่งจื่อ (ค.ศ. ๑๔๐๓ - ๑๔๒๔) อาณาจักรจีนต้องประสบกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชันอย่างหนัก สาเหตุของปัญหานี้เกิดจา...
-
โดย.... นิติภูมิ นวรัตน์ 19 เม.ย. 59 ไทยรัฐออนไลน์ แนวโน้มที่จะก่อให้เกิดวิกฤติความขัดแย้งขั้นสูงถึงขั้นเลือดท่วมแผ่นดิน มาตรา 31...
-
อาณาจักรจีนนับตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และเกรียงไกรที่สุด คนจีนในยุคก่อนเลยมีความเชื่อว่าอาณาจักรของตนเป็นเจ้าโลก จึงมักเรียก...
-
เด็กๆ มันบ่น ประชาชนเบื่อจนคนในชาติเกือบจะเป็นบ้า เพราะนักปกครองดีแต่พูด อวดดี หูเบา ปากบอน บุ่มบ่าม บ้าระห่ำ และหลงอำนาจ ขอท...
-
เมืองไทยของเรา เข้าทางลำบาก เพราะคนใช้ปาก พูดจาถากถาง ด่าทอโจมตี กาลีทุกทาง สามัคคีอับปาง ทุกอย่างวุ่นว...
-
ในแผ่นดินจีนช่วงเกิดการปฏิวัติเพื่อโค้นล้มการปกครองแบบศักดินา (ค.ศ. ๑๙๑๑) เมื่อราชสำนักทราบข่าวการก่อปฏิวัติ ก็รีบประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องแล้...
สถิติผู้เข้าชม
ติดตามผู้เขียน
ฟอร์มรายชื่อติดต่อ
ติดตามที่ Facebook
Icon
Tags
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น