วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

โดย.... นิติภูมิ นวรัตน์ 19 เม.ย. 59 ไทยรัฐออนไลน์

แนวโน้มที่จะก่อให้เกิดวิกฤติความขัดแย้งขั้นสูงถึงขั้นเลือดท่วมแผ่นดิน

มาตรา 31 ซึ่งข้อยกเว้นทั้ง 3 อย่างในมาตรานี้ เป็นเรื่องที่อ่อนไหวมาก หากรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐไม่รอบคอบ หรือมีอคติ หรือไปห้ามการนับถือศาสนา หรือห้ามการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา ก็อาจจะเกิดเรื่องใหญ่ได้
อ่านเผินๆ ทุกอย่างดีหมด แต่ถ้าอ่านแบบคนรู้ประวัติศาสตร์ ก็จะเกิดความหวาดกลัวว่า ข้อความอย่างนี้เคยสร้างสงครามกลางเมืองมาแล้วในหลายประเทศ

มาตรา 31 บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ข้อความที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญในอดีตจะเขียนว่า บุคคลย่อมได้รับการคุ้มครอง รัฐจะกระทำการอันเป็นการลิดรอนสิทธิเพราะเหตุแห่งความเชื่อทางศาสนาไม่ได้

ส่วนข้อห้ามที่บัญญัติว่า ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ นำมาใส่เฉพาะในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 เป็นครั้งแรก

เมื่อมีรัฐธรรมนูญกำหนดไว้แบบนี้ รัฐก็มีความชอบธรรมในการห้ามการปฏิบัติตามความเชื่อและการทำกิจกรรมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ โดยอ้างว่าเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ

นี่เป็นความต้องการคุมศาสนาของฝ่ายการเมืองหรือเปล่า? ข้อความประเภทนี้ ทำให้ประเทศตกอยู่ในทะเลเพลิงได้ง่ายดาย ทำให้แผ่นดิน 5.3 แสนตารางกิโลเมตร ลอยอยู่บนน้ำมันเบนซิน ใครโยนไม้ขีดไฟลงไปแม้เพียงแค่ก้านเดียว ก็ไหม้กันหมดทั้งประเทศ



ประเทศที่เปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อยๆ การร่างรัฐธรรมนูญใหม่มักจะร่างเพื่อแก้ไขวิกฤติของประเทศในห้วงเวลานั้น บางคนร่างเพื่อกีดกั้นคนบางกลุ่มที่พวกตนกลัวว่าจะขึ้นมามีอำนาจในอนาคตอันใกล้หรือเปล่า?

คนร่างซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีอายุมาก ไม่ช้าไม่นาน ก็ตายกลายเป็นผีกันแล้ว แต่รัฐธรรมนูญยังคงใช้บังคับกับผู้คนอีกหลายสิบล้าน

พวกได้ประโยชน์ก็จะแฮปปี้มีความสุขที่สามารถใช้รัฐธรรมนูญกดหัวและบีบรัดชีวิตของคนกลุ่มอื่นๆ พวกนี้ทำงาน 10 แต่ได้ผลประโยชน์ 100 พวกที่เสียประโยชน์ก็จะดิ้นรน หาหนทางต่อสู้ เมื่อต่อสู้ด้วยวิธีทางธรรมดาไม่ได้ ก็จะต่อสู้ด้วยกำลังและอาวุธ

บ้านเรามีนักวิชาการเยอะ ลองให้นักวิชาการไปค้นคว้าประวัติสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในแทบทุกประเทศ ล้วนเกิดมาจากข้อความและการปฏิบัติอย่างนี้ทั้งนั้น

ชาวพุทธเป็นศาสนิกชนเดียวในโลก แม้จะมีมหานิกายและธรรมยุต แต่เราก็มิได้แบ่งแยกเหมือนศาสนิกในศาสนาอื่นที่ประกาศชัดเจนว่า ข้าพเจ้าเป็นคาทอลิก เป็นโปรเตสแตนต์ เป็นซุนนี เป็นชีอะห์ เป็นซิกข์นามธารี ฯลฯ
แต่ด้วยร่างรัฐธรรมนูญมาตรานี้ เมื่อนิกายใดถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ก็อาจจะมีชาวพุทธบางคนประกาศต่อสู้เพื่อความยุติธรรม

เดิม คนไทยไม่มีสี แต่โดนฤทธิ์รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เพียง 20 ปี ไทยกลายเป็นสังคม 2 ข้างอย่างรุนแรง



สังคมแบ่งข้าง แบ่งสี ยังไม่หนักเท่าสังคมแบ่งนิกาย ผมขอเป็น
นอสตราดาโม้ทำนายทายทักว่า สังคมไทยในอนาคตจะกลายเป็นสังคมที่แบ่งว่า ฉันเป็นมหานิกาย ฉันไม่ไปทำบุญกับวัดธรรมยุต ฉันเป็นศิษย์ธรรมยุต ฉันไม่ชอบมหานิกาย

บางคนเป็นธรรมกาย ที่เชื่อว่าตนเองถูกพวกเธอรังแกมาตลอด จึงพร้อมน้อมใจอยู่ในสังคมปิดตามความเชื่อของตน ยิ่งเธอเอารัฐธรรมนูญ มาตรา 31 มารังแกฉัน มากล่าวหาว่าการตักบาตรพระแสนรูปเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ ฉันจะต่อสู้ ฉันอุทิศกายถวายชีวิตเพื่อปกป้องพระศาสนา ปกป้องในสิ่งที่ฉันเชื่อศรัทธา อย่างนี้เป็นไปได้หรือเปล่า?

อ่านหลายรอบทีเดียวกว่าที่จะเข้าใจ การสื่อความหมายของคุณนิติภูมิ

การที่คนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตัดสินใจทำอะไรลงไปสักอย่าง ต้องมีเหตุจูงใจทั้งสิน

พวกที่มาร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องมีเหตุจูงใจเป็นพิเศษเหมือนกัน จึงได้กล้าที่จะแก้ไข มาตรา31

ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องคอขาดปาดตายของชาวพุทธมาก ถึงมากที่สุด

แรงจูงใจที่ว่านี้แหละชาวพุทธทุกคนต้องช่วยกันสืบ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร?


-----------
ผมมองว่ารัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจของรัฐบาล
ถ้ามาตรา31 ร่างขึ้นมาอย่างนี้แสดงว่ามีพวกที่อยู่เบื้องหลัง และพวกที่อยู่เบื้องหลังนี้ ย่อมรู้วิธีที่จะใช้แน่
คราวนี้ถ้ารัฐบาลใช้มาตรานี้บังคับคนพุทธ ผลสะท้อนกลับไม่รุนแรงแน่นอน เช่น กรณีที่เกิดล่าสุดห้ามพระ - เณรหลักแสน ห้ามคนมาตักบาตรหลักล้าน ไม่ให้ไปทำกิจกรรมที่อุบลฯ
ผลสะท้อนกลับคือ ชาวพุทธได้แต่ทำภาพและเขียนข่าวด่าท้อ สอง สามวันก็ลืม
ในทางตรงกันข้ามถ้ารัฐบาลเป็นคนพุทธ แล้วใช้มาตรานี้ไปห้ามการทำกิจกรรมของอีกความเชื่อหนึ่ง ที่นิยมความรุ่นแรงอยู่แล้ว
ผลสะท้อนกลับคงไม่ใช่แบบนี้แน่

จุดตรงนี้นี่แหละที่ผมมองว่า จะเป็นเหตุให้แผ่นดินไทยลุกเป็นไฟ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น