วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559
ในปี
2554 ที่ผ่านมา เราได้เห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากการใช้ Social Media ในการกระจายข่าว
จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองมาแล้วในหลาย
ๆ ประเทศ อาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงการปกครองในตูนิเซีย หรือการโค่นล้มประธานาธิบดีของอียิปต์
เป็นต้น
จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่นี้
ถือเป็นเรื่องที่น่าศึกษามากทีเดียว
ซึ่งวันนี้จะขอยกตัวอย่างการปฏิวัติดอกมะลิ
(The Jasmine Revolution) มาให้คนที่กำลังคิดจะ "ใช้อำนาจในทางที่ผิด" ได้ศึกษากันสักเล็กน้อย
เพื่อที่ว่าจะได้กลับไปคิดทบทวนให้ดีเสียใหม่ ว่าตัวเองกำลังทำอะไรลงไป
•การปฏิวัติดอกมะลิ
คือ กระบวนการเชิงวาทกรรมกับการใช้สัญลักษณ์ในการเร่งเร้าอารมณ์และระดมผู้คนเข้าร่วมการขับเคลื่อนทางสังคม
เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในภูมิภาคหนึ่ง ๆ
เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศตูนิเซีย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด
“การปฏิวัติดอกมะลิ”
•การปฏิวัติดอกมะลิ
มีสาเหตุมาจาก “ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ”
ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับ
“การปฏิวัติดอกมะลิ”
•การปฏิวัติดอกมะลิ
มีจุดเริ่มต้นมาจากชายวัย 26 ปี ชื่อ Mohamed Bouazizi บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่กำลังตกงาน
ซึ่งความสาหัสสากรรจ์ของชายคนหนุ่มคนนี้คือเขาต้องหาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวอีก 8
คน ด้วยการเข็นรถขายผักในเมืองซิด บูซิด (เป็นเมืองเล็ก
ๆ เมืองหนึ่งในประเทศตูนิเซีย )
•วันหนึ่งนาย
Mohamed ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงคนหนึ่งจับและยึดรถขายผักไป
เนื่องจากเขาไม่มีใบอนุญาตทำการค้า
•เขาจึงให้เงินจำนวน
10 ดินาร์ เพื่อไถ่รถคืน แต่กลับถูกตำรวจหญิงคนนั้นตบหน้า ถ่มน้ำลายใส่หน้า
และยังด่าทอบิดาของเขา
•นาย
Mohamed จึงตัดสินใจไปร้องเรียนต่อองค์การบริหารระดับจังหวัด
แต่กลับไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดสนใจ มิหนำซ้ำเขายังได้รับการปฏิบัติกลับมาราวกับเป็นคนไร้ค่า
•นาย
Mohamed ไม่พอใจที่เขาถูกกระทำเช่นนั้น
เขาจึงใช้สเปรย์สีฉีดเขียนรำพันความคับแค้นใจและด่าตำรวจกับเจ้าหน้าที่รัฐตามที่สาธารณะ
ก่อนจะจุดไฟเผาตัวเองเสียชีวิต เพื่อเป็นการประท้วงเจ้าหน้าที่ของรัฐ
•เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงในเมืองที่เกิดเหตุ
และมีการส่งข่าวสารผ่านสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter และ
YouTube ไปทั่วประเทศ จนเกิดการชุมนุมใหญ่
และนำไปสู่การขับไล่ประธานาธิบดี
Zine El Abidine Ben Ali ซึ่งอยู่ในอำนาจมานาน 23 ปี ออกจากตำแหน่ง จนในที่สุดก็เกิดการเปลี่ยนรัฐบาลของตูนีเซีย
ถ้าสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีก่อน
ทุกอย่างคงจบตอนที่นาย Modhamed
เผาตัวตายเพื่อประท้วงแล้ว แต่ ณ
ปัจจุบันเมื่อข้อมูลทุกอย่างสามารถสื่อสารถึงกันหมด
และที่สำคัญรวดเร็วด้วย
การใช้อำนาจในทางที่ผิดของใครก็ช่างเถอะ ถ้าใช้ออกมาแล้วทำให้ประชาชนเห็นว่ามันไม่ชอบธรรม
เมื่อนั้นแหละจะเกิดพลังมวลชนเข้ามาเรียกร้องเพื่อความเป็นธรรม แล้วเหตุการณ์ที่ไม่ค้าดคิดอาจจะเกิดขึ้นได้
เข้าทำนองที่ว่า
"น้ำทำให้เรือลอยได้
ก็สามารถทำให้เรือจมได้เช่นกัน"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Search
สนับสนุนผู้เขียน
เสียงเพรียกแห่งธรรม
บทความยอดนิยม
-
นักปฏิวัติและกวีสาวที่อุทิศชีวิตเพื่ออุดมการณ์ มีหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งน่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะเธอเป็นหญิงจีนคนแรกที่กล้าออกมาเรียกร้องส...
-
ในปี 2554 ที่ผ่านมา เราได้เห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากการใช้ Social Media ในการกระจายข่าว จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองมาแล้วในหลาย...
-
"คนกลุ่มไหนแต่งตั้ง ก็ต้องไปรับใช้คนกลุ่มนั้น" โดย นิติภูมิ นวรัตน์ ท่านผู้ใหญ่ถามผมว่า ถ้าการเมืองถอยหลัง ยอมให้ ส.ว.เลือกนาย...
-
วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เริ่มก่อการปฏิวัติ โดยเจตนาแรกที่บอกแก่ประชาชนว่าที่ต้องทำเช่นนี้เพราะ ต้องการให้บ้า...
-
ช่วงปลายรัชสมัยของจักรพรรดิเฉิ่งจื่อ (ค.ศ. ๑๔๐๓ - ๑๔๒๔) อาณาจักรจีนต้องประสบกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชันอย่างหนัก สาเหตุของปัญหานี้เกิดจา...
-
โดย.... นิติภูมิ นวรัตน์ 19 เม.ย. 59 ไทยรัฐออนไลน์ แนวโน้มที่จะก่อให้เกิดวิกฤติความขัดแย้งขั้นสูงถึงขั้นเลือดท่วมแผ่นดิน มาตรา 31...
-
อาณาจักรจีนนับตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และเกรียงไกรที่สุด คนจีนในยุคก่อนเลยมีความเชื่อว่าอาณาจักรของตนเป็นเจ้าโลก จึงมักเรียก...
-
เด็กๆ มันบ่น ประชาชนเบื่อจนคนในชาติเกือบจะเป็นบ้า เพราะนักปกครองดีแต่พูด อวดดี หูเบา ปากบอน บุ่มบ่าม บ้าระห่ำ และหลงอำนาจ ขอท...
-
เมืองไทยของเรา เข้าทางลำบาก เพราะคนใช้ปาก พูดจาถากถาง ด่าทอโจมตี กาลีทุกทาง สามัคคีอับปาง ทุกอย่างวุ่นว...
-
ในแผ่นดินจีนช่วงเกิดการปฏิวัติเพื่อโค้นล้มการปกครองแบบศักดินา (ค.ศ. ๑๙๑๑) เมื่อราชสำนักทราบข่าวการก่อปฏิวัติ ก็รีบประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องแล้...
สถิติผู้เข้าชม
ติดตามผู้เขียน
ฟอร์มรายชื่อติดต่อ
ติดตามที่ Facebook
Icon
Tags
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น