วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558



นักปฏิวัติและกวีสาวที่อุทิศชีวิตเพื่ออุดมการณ์
 มีหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งน่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะเธอเป็นหญิงจีนคนแรกที่กล้าออกมาเรียกร้องสิทธิและความเสมอภาคของสตรีในแผ่นดินจีน หญิงสาวคนนั้นมีนามว่าชิวจิ่น (ค.ศ. 1877-1907)
ชิวจิ่น เกิดในตำบลเซ่าซิง มณฑลเจ๋อเจียง เธอเติบโตขึ้นมาโดยได้รับการศึกษาและอบรมบ่มสอนเยี่ยงกุลสตรีในระบอบเก่า(คือผู้หญิงต้องอยู่กับเรือนไม่มีอำนาจใดๆทั้งสิ้น) ด้วยความที่เธอเป็นคนใฝ่เรียนเป็นพิเศษแม้จะถูกปิดกั้น แต่เธอก็ยังมีโอกาสได้ศึกษาบทกวีรวมทั้งบทความเสียดสีสังคม ที่เหล่าปัญญาชนในยุคนั้นเขียนเสียดสีชนชั้นปกครอง 




ชิวจิ่นในวัยสาวได้แต่งงานตามประเพณีที่พ่อแม่จัดการให้กับบุตรชายพ่อค้าแซ่หวาง  ทั้งสองได้ย้ายไปอยู่ที่ปักกิ่งแล้วมีลูกกับสามี 2 คน
ในแผ่นดินจีนช่วง ค.ศ.1897 โดยเฉพาะที่ปักกิ่ง กองทัพของชาวต่างชาติ บุกเข้าสังหารและ   ปล้มสะดมทำให้ชาวเมืองล้มตายและอยู่ในอาการหวาดผวา หญิงสาวหรือแม้กระทั้งเด็กสาวถูกทหารต่างชาติข่มขืน ในขณะที่เธอและสามีอยู่อย่างสะดวกสบาย เมื่อเธอได้เห็นเหตุการณ์ที่กล่าวมานี้ ทำให้เธอได้คิดว่า "การมีชีวิตที่ฟู่ฟ้า หรูหราแต่ไร้ค่า มันไม่มีความหมายอะไรเลย ในเมื่อชาติกำลังจะพังพินาศอยู่แล้ว" ในที่สุดชิวจิ่วก็ตัดสินใจเด็ดขาด โดยขอหย่ากับสามี เธอขายเครื่องประดับทุกอย่าง แล้วนำเงินที่ได้จากการขายสมบัติมอบให้แก่บุตรทั้งสอง  เธอเก็บเงินไว้ใช้เพียงน้อยนิดสำหรับการเดินทางไปศึกษาต่อที่โตเกียวประเทศญี่ปุ่น ในสมัยนั้นการตัดสินใจเช่นนี้ นับว่าต้องมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวอยู่มากทีเดียว 
เมื่อซุนยัตเซ็น จัดตั้งกลุ่มถงเหมินฮุ่ยในโตเกียวปลายเดือนกรกฎาคม 1902 ชิวจิ่ว ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกรุ่นแรก ๆ เธอได้รับมอบหมายให้จัดตั้งสาขาย่อยของกลุ่มขึ้นในมณพลเจ๋อเจียง ต่อมา ชิวจิ่วได้ออกนิตยสารสตรีรายเดือน มีชื่อว่า “วารสารสตรีรายเดือน” มีนโยบายให้ความรู้เรื่องความเสมอภาคของสตรีในแผ่นดินจีน
วารสารสตรีรายเดือนฉบับแรก ออกจำหน่ายวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1907 จากบทนำของวารสารนี้มีชื่อว่า “สารถึงสตรีทั้งหลาย” โดยมีแนวคิดที่มีต่อเพื่อนสตรีทั้งหลายว่า

“พี่น้องที่รักทั้งหลาย วันนี้ บุรุษ 200 ล้านคนในประเทศของเรากำลังเข้าสู่โลกใหม่อันเป็นอารยะ แต่เหล่าสตรียังคงต้องถูกเก็บตัวไว้ในห้องขังเยี่ยงนักโทษ เราต้องถูกมัดเท้า, แปรงผม, ตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้และเครื่องประดับ, แต่งหน้าทาปาก ,สวมใส่ผ้าไหมผ้าแพรหลอกล้อ,ยั่วยวน ,อดทนต่อความทุกข์ทรมาน,ร้องไห้คนเดียวเงียบๆ ความจริงของเราในตอนนี้ไม่ต่างอะไรจากนักโทษที่ต้องถูกคุมขังอยู่ชั่วชีวิต แล้วยังต้องทำงานหนักเหมือนวัวควายที่ถูกจูงจมูกถึงครึ่งชีวิตของเราทีเดียว 
พี่น้องที่รัก เธอเคยคิดบ้างหรือไม่ว่า ตลอดชีวิตทั้งชีวิตของเธอ เคยมีความสุขอย่างมนุษย์เป็นอิสระกับเขาบ้างหรือไม่หนอ”

วารสารสตรีจีนซึ่งชิวจิ่วเป็นบรรณาธิการเอง ตรวจสอบปรู๊ฟเองและจัดจำหน่ายเองออกได้เพียง 2 ฉบับก็ต้องม้วนเสื่อเก็บ เพราะถูกทางการสั่งกวาดล้าง


              

         ครั้นเมื่อ กองกำลังของซุนยัตเซ็นเริ่มยึดอำนาจที่หูหนาน แต่ปรากฏว่าล้มเหลว ชิวจิ่วกับเพื่อน ๆ นักปฏิวัติก็ยังไม่ยอมถอยยังคงเตรียมการของตนเพื่อเตรียมยึดอำนาจต่อไป แม้รู้ว่าซูซิหลินซึ่งเป็นเพื่อนรักของเธอเสียชีวิตแล้วก็ตาม 
         เธอเตรียมการไว้อาลัยอย่างลับ ๆ และเตรียมกำลังเพื่อยึดอำนาจต่อทันทีเมื่อเสร็จพิธี ชิวจิ่วก็ได้เขียนนจดหมายถึงเพื่อนในเซี่ยงไฮ้มีข้อความตอนหนึ่งว่า
“ฉันมีแต่ความทุกข์ทรมาน เมื่อได้เห็นเพื่อนร่วมชาติต้องอยู่ในกลียุคและประเทศชาติต้องตกอยู่ในอันตราย ครั้นมาถึงบัดนี้ ตัวฉันเองก็ใกล้จะถึงที่จุดจบของชีวิตแล้ว มีประโยชน์อะไรที่จะร้องไห้ ใครจะเป็นคนฝังฉันในดินแดนอันเป็นซากปรักหักพังแห่งนี้ ไม่จำเป็นอะไรที่จะสร้างหลุมฝังศพให้ฉัน เพราะจีนก็เป็นแต่ซากปรักหักพังแล้ว มันเป็นหน้าที่ของฉันที่จะต้องสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ ฉันจะมีชีวิตอยู่ต่อไป แม้ว่าลมหายใจหมดลงไปแล้ว ลาก่อน”

แผนการยึดอำนาจของชิวจิ่นล่วงรู้ไปถึงทางการทำให้เธอถูกจัดได้ แล้วนำตัวไปประหารชีวิตอีก 3 วันต่อมาที่ถนนสายหนึ่งในเมืองเซ่าชิง ความตายของเธอเป็นแบบอย่างให้แก่สตรีจีนทั้งหลายในฐานะ     วีรสตรีผู้กล้าหาญไม่กลัวตาย ที่หาได้ยากยิ่ง สิงที่เธอทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังอ่าน ถ่ายทอดให้เห็นถึงความรักในประเทศชาติ และความใฝ่ฝันที่จะได้อุทิศตนในการต่อสู้เพื่อประเทศชาติ ที่กำลังสิ้นหวังในทุกประการ ความจริง ชิวจิ่วเป็นสตรีจีนคนแรกที่เรียกร้องความเสมอภาคระหว่วงบุรุษกับสตรีในสังคมจีน และสตรีมากหลายก็ได้ถือเธอเป็นแบบอย่างอันเป็นอมตะในการต่อสู้เพื่อสิทธิของสตรีและระบอบประชาธิปไตยของชาติ



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น